ยินดีต้อนรับสู่แหล่งความรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์

10 สาเหตุที่ทำให้ยื่นกู้ไม่ผ่าน พร้อมวิธีแก้ไข

10 สาเหตุที่ทำให้ยื่นกู้ไม่ผ่าน พร้อมวิธีแก้ไข

  1. Zero Credit ไม่มีประวัติการชำระในระบบ
    ในมุมนี้ธนาคารจะไม่สามารถ มั่นใจว่าคุณจะสามารถผ่อน กับธนาคารได้จริงมัย?
    หรืออาจจะเคยมีหนี้เสียหรือเปล่า เเล้วเกิดการล้างระบบออกทั้งหมด เเละ คนนี้ไม่เคยเป็นหนี้มาเลย ธนาคารจะปฎิเสธรัวๆ 💯
    วิธีแก้
    1. สมัครบัตรเครดิต ต้องรอเครดิตขึ้นอยู่ 6-12 เดือน เเต่ถ้าไม่มีเวลาให้เปิดของ UOB โดยใช้เเค่ 1 รอบบิล
    2.ธอส. เเละออมสิน ซึ่ง 2 ธนาคารนี้ ไม่ซีเรียสเรื่อง Zero Credit (กู้ได้เลย)
  2. ภาระหนี้เต็ม เกินความสามารถ ในการกู้เกินที่ธนาคารกำหนด
    ตัวอย่าง
    มนุษย์เงินเดือน 30,000 บาท กู้ธนาคารออมสิน โดยกำหนด Capacity = 50% หมายความว่าธนาคารให้เงินกู้ คุณสูงสุดของ 50% ของรายได้ ยอดรวมผ่อนได้ไม่เกิน = 30,000 x 50% = 15,000 บาท/เดือนภาระหนี้เต็ม = ในบูโรมีการผ่อน ไปแล้วเกิน 15,000 บาท/เดือน
    ***หมายเหตุ*** บัตรเครดิต ถ้าคิดเป็นภาระจะคิดที่ 10% ของยอดที่ใช้เดือนล่าสุด
    วิธีแก้
    1.กรณีบัตรเครดิต ให้จ่ายบัตรเครดิตเเบบเต็มจำนวน รอบต่อไปให้ใช้บัตรให้น้อยที่สุด ก่อนยื่นกู้ 45 วัน
    2.กรณีรถยนต์ ให้โยกรถ หรือย้ายชื่อ (ย้ายชื่อไปเป็นชื่อของคนอื่นก่อน) เพราะถ้ารักษาเครดิตดี สามารถยื่นกู้ใหม่ได้ง่ายๆ
    3.กรณีสินเชื่อส่วนบุคคล ดอกเบี้ยอยู่ที่ 25-28% โดยการ Refinance รถหรือบ้านก็ได้ ดึงเงินส่วนเกินที่เราเคยผ่อนมาเเล้ว มาเครียร์ ปิดสินเชื่อส่วนบุคคล แล้วรอ 45 วัน
  3. การชำระหนี้ไม่ตรงเวลา หรือค้างชำระ **สำคัญพอๆกับการติดเครดิตบูโร**
    วิธีแก้
    จ่ายที่ค้างทั้งหมด และกลับมาชำระให้ปกติ 6-12 เดือน เพราะประวัติจะถูกดันออกไป ธนาคารจะดูย้อนหลัง อยู่ที่ประมาณ 2-3 ปี แต่ ธอส. จะดู 3-6 เดือน
  4. มีประวัติการปรับโครงสร้างหนี้ (เปรียบเสมือนการติดเครดิตบูโร)
    หมายถึงว่าเราไม่สามารถ ผ่อนชำระได้ เช่น กู้ไป 2 ล้าน ผ่อนเดือนละ 14,000 บาท (กู้ล้านละ 7,000 บาท) รู้สึกผ่อนไม่ไหว ขอเเบงค์จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย สมมติดอกเบี้ย 5,600 บาท เเละทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร โดยปลี่ยนจากการผ่อนเดือนละ 14,000 บาท เป็นเดือนละ 7,000 บาท ซึ่งมันจะเเสดงในบูโรว่า เราเคยปรับโครงสร้างหนี้ เทียบเท่ากับการติดบูโรเลย **เสียเครดิต**
    วิธีแก้
    ไปคุยกับธนาคาร ขอเปลี่ยนสัญญาเเบบปกติ เเละผ่อนไป 6-12 เดือน ให้สถานะปกติก่อนยื่นกู้
  5. การไม่ออมเงิน (ดูเจ้าของกิจการ เเละอาชีพอิสระ ส่วนพนักงานประจำไม่จำเป็น)
    ปัญหาข้อนี้
    อาจจะไม่มีผลในบางธนาคาร คือธนาคารจะดูเงินเก็บของคุณ ก็ต่อเมื่อธนาคารขาดความมั่นใจ ที่จะปล่อยกู้ให้คุณ ซึ่งการออมเงินเป็นการสร้างเครดิต ที่ดีให้กับตัวเอง เพื่อที่ทางธนาคาร จะมั่นใจได้ว่าเรามีวินัยทางการเงิน เเละมีเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
    วิธีแก้
    คุณควรจะมีเงินออม ในบัญชีธนาคาร เเบบฝากประจำ 5-10% ของราคาซื้อทรัพย์ เพราะธนาคารจะปล่อยสินเชื่อ LTV 90-95% ของราคาซื้อทรัพย์ คุณควรมีส่วนต่างการกู้ 5-10% ของราคาซื้อทรัพย์ จึงจะได้คะเเนนจากธนาคาร เพิ่มเติมทำให้กู้ผ่านง่ายขึ้น
  6. ปัญหาจากผู้กู้ร่วม การใช้ผู้ร่วมมีประโยชน์ 2 กรณี
    1. เพิ่มระยะการกู้ให้นานขึ้น
    2.เพิ่มวงเงินการกู้ให้สูงขึ้น
    วิธีแก้
    ในส่วนของประโยชน์ข้อเเรก การเพิ่มระยะการกู้ เราจะต้องหาผู้กู้ร่วมที่มีอายุน้อยกว่า เพราะจะได้การผ่อนได้นานขึ้น (อ้างอิงตามคนอายุน้อย) ธนาคารส่วนใหญ่ ปล่อยกู้ถึงอายุ 60-65 ปี ก็จะทำให้มีระยะเวลากู้นานขึ้นกว่าเดิม และมีผลให้ผ่อนต่อเดือนน้อยลง ทำให้วงเงินกู้ได้สูงขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ เราสามารถใช้รายได้ ของคนกู้ร่วมมาคิดด้วยได้ แต่ภาระบูโรต้องต่ำ (เพราะคนกู้ร่วมคิดให้ทั้งรายได้

    และภาระในบูโรภาระในบูโร) ต่ำ นี่คือประโยช์นของ การหาคนกู้ร่วมที่เหมาะสม
  7. การเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ไม่เหมาะกับธนาคารที่ยื่นกู้ เเละกำลังผ่อน
    ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ
    อย่างเช่น เราซื้อบ้านราคา 2 ล้าน เราสามารถเลือกธนาคาร ที่ผ่อน 14,000, 12,000 และ 8,400 บาทถ้ามีรายได้ 28,000 บาท มีรายจ่ายต่อเดือนที่ 19,000 บาท รายจ่ายในบูโร 0 บาท รายจ่ายนอกบูโร 19,000 บาท ทำให้เหลือ Cashflow =28,000-19,000=9,000 บาท สามารถกู้ได้ทั้งธนาคารที่ผ่อน

    14,000, 12,000 และ 8,400 บาท เพราะความสามารถในการกู้ถึง แต่ในความเป็นจริง จาก Cashflow ที่เหลือที่ควรไปคือ ธนาคารที่ผ่อน 8,400 บาท หมายเหตุ : Cash Flow = ค่าใช้จ่ายในบูโร + ค่าใช้จ่ายนอกบูโร สมมติว่าหักลบเหลือที่ 9,000 บาท ก็ หมายความว่าความสามารถ ในการชำระอยู่ที่ประมาณ 9,000 บาทนั่นเอง
    วิธีแก้
    เราต้องเลือก Matching ทรัพย์ที่ซื้อกับธนาคาร และเงินที่เหลือตาม Cashflow ป้องกันการผ่อนไม่ไหว ในอนาคตและกลายเป็นหนี้เสีย
  8. ระบบการจ่ายเงิน ของบริษัทที่ทำงาน
    ที่ทำงานบางที่นั้นมีการจ่ายเงินเดือน แบบการจ่ายเช็คหรือโอนเงินบุคคล แทนที่จะจ่ายแบบ Payroll(Code Salary) เพื่อตัดเข้าบัญชีอัตโนมัติ แบบที่บริษัททั่วๆไปทำ ซึ่งธนาคารที่ปล่อยกู้

    อาจจะมองว่าบริษัท ของคุณทำอาจจะสร้าง statement ขึ้นมาเองได้ ทำให้ธนาคารผู้ปล่องกู้เกิด ความไม่มั่นใจว่าบริษัท มีความมั่นคงพอที่จะปล่อยกู้หรือไม่
    วิธีแก้
    เสนอให้บริษัทไปใช้ธนาคาร ที่มีระบบ Pay roll ที่อยู่ในรูปเเบบของบริษัท เเละให้ส่งประกันสังคมในอัตรา ที่เท่ากับเงินเดือนจริงของคุณ
  9. ตัวผู้กู้อายุน้อย
    โดยปกติธนาคารจะปล่อยกู้ ให้กับบุคคลที่มีอายุ 20ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เเละมีประวัติการขอเครดิตต่างๆ การผ่อนชำระอย่างมีวินัย 6-12 เดือนอีกด้วย
    วิธีแก้
    หากยังอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ให้จดทะเบียนสมรส เราจะบรรลุนิติภาวะได้โดยสภาพ หากอายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ ให้ทำบัตรเครดิต, บัตรเครดิต, ยื่นกู้อื่นๆ ถ้าหากว่าคุณมีบัตรเครดิต ของธนาคารนั้นๆ หรือถ้าหากว่าทำประกันชีวิต กับธนาคารนั้นๆมาก่อน การตอบรับอนุมัติการกู้เงิน ก็จะเป็นไปด้วยความราบรื่นมากขึ้น หรือทำเครดิตโดย ใช้เงินสดค้ำประกันก็ได้เช่นกัน
  10. อื่น ๆ
    เกิดได้หลายเหตุผล เเละวันนี้จะยกตัวอย่าง ที่เจอกันมาที่สุดอยู่ 2 เรื่องนี้คือ
    1. การกู้ทรัพย์ ธนาคารจะปล่อย ให้ตามที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หรือ ที่อยู่ตามที่ทำงานที่มี ความเกี่ยวข้องกับเรา เเต่ถ้าเป็นเหตุผลของการซื้อลงทุน จะเป็นประเด็นที่ธนาคาร จะไม่ยอมปล่อยสินเชื่อให้เราเด็ดขาด
    2.ตรวจสอบบริษัท ซึ่งธนาคารจะดูว่าบริษัท มีกำไรย้อนหลังเท่าไหร่ เเต่ถ้าขาดทุน ก็จะเป็นประเด็นให้คุณกู้ไม่ผ่าน เพราะคุณก็มีความเสี่ยง ที่จะตกงานได้ไม่ยาก
    วิธีแก้
    ยื่นกู้ทุกธนาคารพร้อมๆกันไปเลย เพราะจะได้มีทางเลือกวงเงินสูงสุด ดอกเบี้ยน้อยสุด บูโรก็ไม่ช้ำ

แสดงความคิดเห็น

Top